วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย3คำมีความหมายดังนี้


เทคโนโลยี (technology)หมายถึงการนำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้นั้นๆ ให้ดีขึ้นเช่นกระบวนการต่างๆโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์




สารสนเทศ Information หมายถึง
ข้อมูลขัอเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านการประมวลผลอย่างมีระบบ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้

การสื่อสาร Communication หมายถึง
การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นกลาง จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งหรือที่อีกสถานที่หนึ่ง


1.2 ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ



ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศทั้งที่เป็นอุปการณ์คอมพิวเตอร็และอุปกรณ์พ่วงต่างๆเช่น จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)



ซอฟต์แวร์ (software)
หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ แบ่งเป็น2ประเภทคือ

ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ระบบ
 ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เช่น วินโดว์ ดอส


ซอฟต์แวร์ประยุกต์

เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ตัวอย่างซอฟต์แวร็ประยุกต์เช่น ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก  ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ


  ข้อมูล (data)
    
 หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ









บุคลากร  (people)
บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์






ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม 

ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน 

 -ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวม เเละบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้เเละนำข้อมูลกลับมา ใช้ได้ตลอดเวลา
-ด้านการสื่อสารเเละโทรคมนาคม การสื่อสารเเบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกเเละรวดเร็ว
-ด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี การวิจัยเเละการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนเเล้วเเต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารทั้งสิ้น
-ด้านความบันเทิง รูปเเบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการ ทั้งภาพเเละเสียงได้อย่างมีประสิทธิภพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆที่สะดวกเเละรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างเเพร่หลาย

เเนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
>>เทคโนโลยีเเบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกเเละรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
>>มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
>>อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดเเละราคา ถูก เเต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเเละมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
>>การวางเเผน การคิดวิเคราะห์ เเละการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกเเทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
>>ด้วยการเข้ถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจเเละกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
>>หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง เเต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น





ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร>>พฤติกรรมเลียนเเบบจากเกมที่ใช้ความรุนเเรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
>>การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
>>การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
>>ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผดกฎหมายเเละะเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
>>การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย
>>เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้
ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

         ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่ายทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น

          1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร




  2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)
ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย
3.นักเขียนเกม (game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้การเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น