วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

1.ข้อมูลเเละสารสนเทศ
-
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
-
สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลเเล้ว ซึ่งถูกต้องเเม่นยำเเละตรงกับความต้องการของผู้ใช้



ลักษณะของข้อมูลที่ดี  ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมเเละตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
-มีความถูกต้องเเละเเม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
-มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์กระชับเเละชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพเกิดความน่าเชื่อถือ
-ถูกต้อง รวดเร็ว เเละเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ เเละทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่เเข่งอย่างมาก
-ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางเเผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด



4.ชนิดและลักษณะของข้อมูล

  ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลเเบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้เเก่
  -
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือ ข้อมูลที่ใช้เเทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปเเบบคือ เลขจำนวนเต็ม เเละ เลขทศนิยม
   -
ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเเละไม่สามารถนำไปคำนวณได้ เเต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้




ประเภทของข้อมูล เราสามารถเเบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆได้เเก่

  ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากเเหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย เเละเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
 
ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้เเล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้
2.กระบวนการจัดการสารสนเทศเราสามารถเเบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-การรวบรวมเเละตรวจสอบข้อมูล 
 
การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
 
การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องเเก้ไขโดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
-
การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
 
การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานต่อไป
 
การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่เเล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อสะดวกเเละประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
 
การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆเเล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับเเละได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
-
การจัดเก็บเเละดูเเลรักษาข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
 
การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลเเล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
 
การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
-
การเเสดงผลข้อมูล
 
การสื่อสารเเละเผยเเพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญเเละมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วเเละทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ
 
การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยเเพร่ข้อมูลไปเเล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงเเก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เเละควรจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการใช้งาน


3.ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
-
ระบบเลขฐานสอง การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยเเทนตัวเลขศูนย์ เเละหนึ่ง โดยเเต่ละหลักจะเรียกว่า บิต เเละเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงต่อกันเท่ากับ 1 ไบต์ จะใช้สร้างรหัสเเทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้ภาษาไทยเเละภาษาอังกฤษได้



รหัสเเทนข้อมูล เพื่อให้การเเลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในเเนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสเเทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้
-รหัสเเอสกี (American Standard Code Information Interchange:ASCII) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ เเทนอักขระหรือสัญลักษณ์เเต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการเเทนอักขระเเต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน
-
รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภเป็นตัวอักษรภาษาจีนเเละภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิตจะเเทนรูปเเบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปเเบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาเเทน โดยเเทนตัวอักขระได้ 65,536 ตัว เเละยังใช้เเทนสัญลักษณ์กราฟิกเเละสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อกด้วย
-
การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกต่างๆจะต้องกำหนดรูปเเบบหรือโครงสร้างของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเเละคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-
บิต (bit) คือตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
-
ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆโดยตัวอักขระเเต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์
-
เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อเเทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
-
ระเบียบข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งเเต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
-
เเฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งเเต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
-
ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมเเฟ้มข้อมูลหลายๆเเฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

4.จริยธรรมในการใช้ข้อมูล ประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ข้อมูล มีดังนี้
-ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้เเก่เจ้าของข้อมูลได้
-
ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการค้นหาใหม่
-
ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาติจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
-
การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันเเละรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว





คำถามท้ายบท
1. ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลเเบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ตอบ  ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากเเหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย เเละเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
  ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้เเล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้
2. สารสนเทศ (information) หมายถึง 
ตอบ  ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลเเล้ว ซึ่งถูกต้องเเม่นยำเเละตรงกับความต้องการของผู้ใช้

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย3คำมีความหมายดังนี้


เทคโนโลยี (technology)หมายถึงการนำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้นั้นๆ ให้ดีขึ้นเช่นกระบวนการต่างๆโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์




สารสนเทศ Information หมายถึง
ข้อมูลขัอเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านการประมวลผลอย่างมีระบบ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้

การสื่อสาร Communication หมายถึง
การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นกลาง จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งหรือที่อีกสถานที่หนึ่ง


1.2 ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ



ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศทั้งที่เป็นอุปการณ์คอมพิวเตอร็และอุปกรณ์พ่วงต่างๆเช่น จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)



ซอฟต์แวร์ (software)
หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ แบ่งเป็น2ประเภทคือ

ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ระบบ
 ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เช่น วินโดว์ ดอส


ซอฟต์แวร์ประยุกต์

เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ตัวอย่างซอฟต์แวร็ประยุกต์เช่น ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก  ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ


  ข้อมูล (data)
    
 หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ









บุคลากร  (people)
บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์






ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม 

ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน 

 -ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวม เเละบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้เเละนำข้อมูลกลับมา ใช้ได้ตลอดเวลา
-ด้านการสื่อสารเเละโทรคมนาคม การสื่อสารเเบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกเเละรวดเร็ว
-ด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี การวิจัยเเละการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนเเล้วเเต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารทั้งสิ้น
-ด้านความบันเทิง รูปเเบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการ ทั้งภาพเเละเสียงได้อย่างมีประสิทธิภพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆที่สะดวกเเละรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างเเพร่หลาย

เเนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร
>>เทคโนโลยีเเบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกเเละรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
>>มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
>>อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดเเละราคา ถูก เเต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเเละมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
>>การวางเเผน การคิดวิเคราะห์ เเละการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกเเทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
>>ด้วยการเข้ถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจเเละกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
>>หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง เเต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น





ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร>>พฤติกรรมเลียนเเบบจากเกมที่ใช้ความรุนเเรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
>>การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
>>การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
>>ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผดกฎหมายเเละะเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
>>การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย
>>เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้
ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

         ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่ายทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น

          1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร




  2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)
ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย
3.นักเขียนเกม (game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้การเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ฉันชื่อ จุฑาภรณ์ เพ็ชรลิตร ชั้นม. 4/3 เลขที่ 25
เกิดวันที่ 18 กันยายน 2540 ปัจจุบันอายุ 15ปี กรุ๊ปเลือด บี
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 8/3 หมู่6 ต. ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ. อยุธยา
ติดต่อ 0806633219   เบอร์แม่ 0899650784
งานอดิเรกคือ อ่านนิยาย เล่นเกม
คติประจำใจ ไม่สูงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน
สีที่ชอบคือ ขาว น้ำตาล สีที่ไม่ชอบ ดำ
E-mail nanny_jung05
ชอบเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ ไทย
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่จอมสุรางค์อุปถัมภ์
ตัวการ์ตูนที่ชอบ มิกกี้เมาส์ มินนี่